ศูนย์รวมคลินิกแพทย์จีน
Clinic Center of Chinese Medical
泰國中醫師聯合治療中心

 

การรักษาริดสีดวงทวารโดยศาสตร์การแพทย์แผนจีน


痔疮的中医治疗
แพทย์จีน   ธงชัย  ลี้นำโชค    李金龙中医师

ริดสีดวงทวารอยู่ปลายลำไส้ตรงกับใต้ผิวหนังของทวารหนัก    เส้นเรือดดำพองตัวและขอดเป็นก้อนนิ่ม   เด็กเล็ก   คนแก่   ชาย   หญิง  มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้  คนไข้โดยมากจะมีอายุ 20 ปีขึ้นไป  มี 70% เป็นหญิง  55%  เป็นชาย     โดยมากจะเป็นริดสีดวงทวารภายในราว 53% ของโรคลำไส้ทวาร  ตำแหน่งของการเกิดโรคที่ต่างกัน  จะแบ่งออกเป็นริดสีดวงทวารภายใน , ภายนอก และผสมกัน 3 ชนิด  ราว 90% เป็นริดสีดวงทวารภายในกับผสมกัน

1. กายวิภาควิทยาของลำไส้ตรงทวารหนัก

(1)‘ท่อทวารหนัก’ ปากทวารหนัก → ปลายลำไส้ตรงก็คือ ทวารหนัก  ผิวหนังเรียบขาว  ไม่มีต่อมเหงื่อ  
(2)‘เส้นฟันเลื่อย’  เขตที่ติดต่อของผิวหนังทวารหนักกับเยื่อบุลำไส้ตรง  เป็นเส้นของรูปฟันเลื่อย  เรียกว่า เส้นฟันเลื่อย หรือเส้นรูปหวี  เส้นฟันเลื่อยข้างบน คือ ลำไส้ตรงมีเยื่อบุปกคลุมอยู่  เส้นฟันเลื่อยข้างล่างคือ ทวารหนักปกคลุมด้วยผิวหนัง  ข้างบนเป็นริดสีดวงทวารภายใน  เส้นฟันเลื่อยข้างล่างคือ ริดสีดวงทวารภายนอก  ประสาทของเส้นฟันเลื่อย  ข้างบนเป็นประสาทอัตโนมัติ  ไม่มีความเจ็บที่ชัดเจน  ฉนั้นริดสีดวงทวารภายในไม่เจ็บ  เส้นฟันเลื่อยข้างล่างเป็นประสาทไขสันหลัง  ไวต่อความเจ็บ  ฉนั้นริดสีดวงทวารภายนอกและแผลปริที่ปากทวาร จะเจ็บมาก 
(3)‘ต่อมท่อทวารหนัก’  กล้ามเนื้อหูรูดปากทวาร  รวม 4  กลุ่ม
1. กล้ามเนื้อหูรูดปากทวารใน
2 .กล้ามเนื้อหูรูดปากทวารนอก
3. กล้ามเนื้อยกทวารหนัก
4 .กล้ามเนื้อเชื่อมต่อ
(4) สรีระวิทยาลำไส้ตรง  ท่อทวารหนัก   กักเก็บและขับถ่ายอุจจาระ  หลั่งน้ำเมือกให้อุจจาระลื่นไหล  ดูดซับน้ำในจำนวนน้อย

2. สาเหตุการเกิดโรค

(1)  การแพทย์แผนจีนมีความเห็นว่า  นอกจากสาเหตุของเฉพาะที่แล้ว  ยังเกี่ยวกับอวัยวะภายใน  เส้นลมปราณ  เลือดลม  อิน – หยาง ต่างๆ  ทางเปลี่ยนแปลงของพยาธิวิทยา  ความอ่อนแอของอวัยวะภายใน  การสูญเสียเลือดลมเป็นพื้นฐานของการเกิดโรค
1.1  อาหารการกินที่ผิดหลัก  ของเผ็ด  น้ำเมา  สะสมความชื้นมากไปจะแปรเป็นความร้อนไหลลงลำไส้ใหญ่  รวมตัวที่เฉพาะที่ทำให้หลอดเลือดติดขัด  จนก่อเป็นริดสีดวงทวาร
1.2  ท่องร่วงนานเวลา  การนั่ง  การยืนนานเวลา  ตรากตรำ  การคลอดบุตรของสตรีต่างๆ  ทำให้ลมปราณต้านทานโรคพร่องหลอดเลือดติดขัด  เส้นลมปราณตันจนก่อเป็นริดสีดวง       
1.3 ท้องผูก  ใช้แรงเบ่งอุจจาระ  จะสูญเสียลมปราณต้านโรค  ลมปราณขุ่นสะสมในเฉพาะที่  จนก่อเป็นริดสีดวงทวาร
1.4  การกระทบจากมารร้ายภายนอกร่างกายของลม  ความชื้น  ความแห้ง  ความร้อน  หรือช้ำในจากอารมณ์ทั้งเจ็ด  ทำให้เลือดลมติดขัด  เส้นลมปราณก็ติดขัด  จนคั่งติดขัดที่ทวาร  จึงเกิดเป็นริดสีดวงทวาร
อนึ่งยังมีการแบกของหนัก  การไอนานเวลา  กรรมพันธุ์ต่างๆก็เกี่ยวด้วย     
(2)  การแพทย์ในยุคนี้มีความเห็นว่า  ทฤษฏีสาเหตุกลไกของโรคมี 3 ชนิด  หลอดเลือดดำขอด  หลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น  และเนื้อเยื่อทวารเคลื่อนที่ลง  ปัจจุบันมีความเห็นว่า จะเกี่ยวกับปัจจัยของโครงสร้างเฉพาะที่ของลำไส้ตรงทวาร  การติดเชื้อ  ท้องผูก  อาหารการกิน  อาชีพ  ปัจจัยกรรมพันธุ์ การยืน  หรือทวารหย่อนยาน และการตั้งครรภ์ของสตรี  การคลอดบุตรต่างๆ

3. การแบ่งประเภท

แบ่งเป็นริดสีดวงทวารภายใน , ภายนอก ,  และผสมกัน 3 ประเภท
ริดสีดวงทวารภายใน ยังแบ่งเป็นชนิดหลอดเลือดดำขอด  ชนิดหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้นชนิดเรื้อรัง 3 ชนิด
ริดสีดวงทวารกภายนอก  ยังแบ่งเป็นชนิดหลอดเลือดขอด , ชนิดเนื้อเยื้อเรื้อรังชนิดลิ่มเลือด ชนิดอักเสบ  4 ชนิด
ริดสีดวงทวารกปนกัน(มีริดสีดวงทวารภายใน และ ริดสีดวงทวารกภายนอก)

4. อาการของโรค

(1)  อุจจาระปนเลือด  เป็นอาการเริ่มแรกของริดสีดวงทวารภายในที่พบบ่อยที่สุด  อุจจาระปนเลือดเป็นครั้งคราว  ไม่เจ็บ  เลือดเป็นสีแดง  ไม่เข้ากับอุจจาระ หรือมีเลือดติดที่พื้นผิวอุจจาระ  หรือมีเลือดเปื้อนกระดาษชำระ  หรือเป็นหยด   หรือมีเลือดพ่นออกมา  หลังถ่ายอุจจาระเลือดก็หยุดไหล  ถ้าเลือดออกมากจะโลหิตจาง
(2)  ริดสีดวงทวารหนักยื่นออก  หัวริดสีดวงจะค่อยๆ ใหญ่ขึ้น  ขณะถ่ายอุจจาระจะยื่นออกนอกทวารหนัก  ถ้าหนักขึ้นการเดิน  การนั่งยองๆ  การไอ  การจามก็จะยื่นออก  ถ้าอาการเบา หลังอุจจาระจะกลับเข้าในทวาร  ถ้าอาการหนักต้องใช้นิ้วช่วยดันกลับเข้าในทวาร    
(3)  การหน่วงแน่นปวดที่ทวารหนัก  ทั่งไปริดสีดวงทวารภายในจะมีความรู้สึกหน่วงแน่นที่ทวารหนัก  ถ้าริดสีดวงทวารภายในเกิดยื่นออกแล้วไม่สามารถกลับเข้าทวาร ก็จะบวมขึ้น→ลิ่มเลือด →เป็นแผล→เป็นหนอง  หรือติดเชื้อจะเจ็บมาก   
(4)  ทวารหนักเปียกชื้น  คันก้น  ริดสีดวงทวารภายใน  เยื่อบุของลำไสตรงถูกกระตุ้นบ่อยๆ  หัวริดสีดวงจะยื่นออกบ่อยๆ  หูรูดของทวารหนักจะหย่อนยานจะมีเมือกไหลออก  ทำให้ทวารหนักเปียกชื้น→ คัน   
(5)  ท้องผูก เนื่องด้วยเลือดออกหรือการเจ็บบ่อยๆ ก่อให้คนไข้จะกั้นอุจจาระท้องผูกประจำ อุจจาระแห้งจะเสียดสีกับเยื่อบุของริดสีดวงทวาร  เลือดไหลออก ถ้าออกมากโลหิตจาง

5.  การตรวจวินิจฉัย      

(1)  ริดสีดวงทวารภายใน
เริ่มแรกยังคลำไม่เจอ  ถ้าใหญ่ขึ้นจะคลำเจอ  ถ้ามีลิ่มเลือดจะคลำเจอเม็ดแข็ง  การตรวจภายในทวารด้วยส่องกล้องจะปรากฏที่จุด 3 ,7,11  มีเม็ดสีแดงคล้ำ     
จะแบ่งเป็น  4  ระยะ
ระยะแรก  ไม่มีอาการ  แต่ถ่ายอุจจาระจะมีเลือดออกนิดๆ หรือมีหยดเลือดหน่อย  การตรวจภายในทวาร  จะเห็นเยื่อบุเป็นเม็ดเล็กๆ
ระยะที่สอง  ขณะถ่ายอุจจาระจะมีเลือดออกครั้งคราวเป็นหยด  หรือพ่นออกมา  เวลาถ่ายริดสีดวงจะยื่นออก  หลังถ่ายอุจจาระเสร็จหัวริดสีดวงจะกลับเขาทวารเอง
ระยะที่สาม  ทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระ  การตรากตรำ  การไอ  หรือการเพิ่มแรงดันช่องท้องหัวริดสีดวงจะยื่นออก  แล้วไม่สามารถกลับเข้าทวารด้วยตนเอง  ต้องใช้นิ้วตันกลับเข้าไป
ระยะที่ สี่  ริดสีดวงทวารภายใน  และริดสีดวงทวารภายนอก  จะยื่นออกนอกทวาร  และไม่
สามารถกลับเข้าทวารอีก               
(2)  ริดสีดวงทวารภายนอก 
ริดสีดวงภายนอกอยู่ใต้เส้นฟัน ปกคุมด้วยผิวหนัง จะแบ่งเป็นชนิดริดสีดวงภายนอกลิ่มเลือด ,ริดสีดวงภายนอกหลอดเลือดขอด   ริดสีดวงภายนอกอักเสบ  และริดสีดวงภายนอกเนื้อยึดย่นฯ
2.1  ริดสีดวงภายนอกลิ่มเลือด
เป็นชนิดที่พบบ่อย  สาเหตุคือท้องผูก  ถ่ายลำบาก หรือใช้แรงเบ่งมากเกินไป หรือออกกำลังกายมากไปอย่างต่อเนื่อง  การไอต่างๆ  ทำให้หลอดเลือดดำในทวารหนักแตก  มีเลือดออกกลายเป็นลิ่มเลือด  เป็นปุ่มรูปกลมหรือรูปไข่ (เหตุคือผิวหนังยังไม่แตก) โดยมากจะเกิดที่ริมปากทวารหนักที่จุด 3,จุด9  ถ้าไม่อักเสบปุ่มก็ไม่ใหญ่มาก  จะหายบวมภายใน 3 – 4  สัปดาห์
2.2  ริดสีดวงทวารภายนอกหลอดเลือดดำขอด
หลอดเลือดดำของริดสีดวงทวารภายนอกเกิดการ  เลือดคั่ง  ขอด ริมปากทวารหนักมีก้อนนุ่มเกิดขึ้น  ถ้าบวมน้ำ ก้อนจะใหญ่ขึ้น  ในนั้นประกอบด้วยลิ่มเลือดกับเนื้อยึด  ชนิดนี้โดยมากก่อให้เกิดร่วมกับริดสีดวงทวารภายใน  การเกิดโรคนี้จะดำเนินช้าๆ  เริ่มแรกจะหน่วงแน่นที่ทวารหนัก  เมื่อไรจะถ่ายอุจจาระปุ่มบวมจะปรากฏออกมา  มีผิวหนังหุ้มอยู่เป็นสี่ม่วงคล้ำ  ถ้าเป็นอักเสบจะมีอาการบวมเจ็บต่างๆ  
2.3  ชนิดริดสีดวงทวารภายนอกอักเสบ
เป็นปากทวารหนักอักเสบ  สาเหตุปากทวารหนักถูกทำลาย ติดเชื้อ  บางทีมาจากปากทวารหนักฉีก  คนไข้รู้สึกปากทวารหนักหน่วงแน่น  แสบร้อน ปวดชื้น  คันก้นบวมแดง  เจ็บร้อน  บวมน้ำ  อย่างชัดเจน  โดยมากคนไข้เป็นริดสีดวงทวารภายนอกชนิดหลอดเลือดขอด  หรือชนิดเนื้อยึดย่นมาก่อน
2.4  ริดสีดวงทวารภายนอกชนิดเนื้อยึดย่น
หมายถึง ผิวหนังริมปากทวารหนักเป็นอักเสบอย่างฉับพลัน  และเรื้อรังบ่อยๆ  ทำให้หนาขึ้น  ในริดสีดวงไม่มีหลอดเลือดขอด  สาเหตุของโรคโดยมากจากท้องผูก  อุจจาระที่แห้งผ่านปากทวารหนัก  ดึงและเสียดสีปากทวารหนัก  ทำให้ติดเชื้ออักเสบ  บวมน้ำ   หายอักเสบ กลายเป็นติ่งหนัง  เป็นฐานกว้างปลายแหลมยาว  เป็นสีน้ำตาลเหลืองหรือสีชมพู  เนื้ออ่อนแต่ก็แข็งนิดๆ
(3)  ริดสีดวงทวารปนกัน
หมายถึง ตำแหน่งที่เดียวของเส้นฟัน  ริดสีดวงทวารภายในกับริดสีดวงทวารภายนอกรวมตัวเป็นหนึ่งเดียว  เส้นฟันสลายหายไป  เรียกว่า  ริดสีดวงทวารปนกัน  โดยมากเป็นระยะสุดท้ายของริดสีดวงทวารภายใน  การไหลกลับของน้ำเหลืองกับเลือดติดขัดทำให้เลือดคั่ง  หลอดเลือดของริดสีดวงทวารภายในกับภายนอกขยาย  สื่อถึงกันและกัน
ริดสีดวงหลุดออกมาข้างนอก  หน่วงแน่น  ปวดมีน้ำเมือกมากที่ทวารหนักและถ่ายอุจจาระปนเลือด  การตรวจจะได้พบ  หัวริดสีดวงโดยมากจะอยู่จุด 3,7,11  บางคนเป็นรูปวงกลม ริดสีดวงทวารปนกันชนิดรูปวงกลม

6.  การรักษาของริดสีดวงทวาร

(1)  หลักการรักษา
การแพทย์แผนจีนมีความเห็นว่า  การรักษาริดสีดวงทวารต้องใช้วิธีทานยาควบคู่กับวิธีรักษาจากภายนอกร่างกาย  รักษาทั่วร่างกายควบคู่กับรักษาเฉพาะที่  ต้องรักษาต้นเหตุ  การวิเคราะห์โรคเพื่อรักษา  ปรับปรุงร่างกาย  จึงจะได้ผลดีทางระยะใกล้และระยะไกล  มีคำพังเพยว่า          
(2)  วิธีรักษาโดยการไม่ผ่าตัด  มีดังนี้
A.  วิธีรักษาด้วยทานยา
①  การรักษาระยะแรก (ระยะ 1 – 2)
๑.  ขจัดความร้อนให้เลือดเย็นลง  ไล่ลมให้เป็นความชื้น ขจัดความแห้ง

อาการ     :   อุจจาระแห้งปนเลือด

สูตรยา :

เซิงตี้ 30 g

เทียนฮัวเฝิ่น 15 g

หวงเป๋อ 9 g

หู่จั้ง 30 g

หวายเจี่ยว 15 g

ตี้หวีท่าน 15 g

เชอะเปอะท่าน 15 g

เชอะเสา 9 g

จื่อเคอะ 9 g

เซิงหมา 9 g

จิงเจี้ยซุ่ย 9g

ฉวนกวาโหลว 30 g

ต้มน้ำดื่มวัน 2 ครั้ง


๒. ขจัดความชื้นร้อน อุจจาระมีเลือดออก หน่วงแน่นที่ทวารหนัก


สูตรยา :

หลงตั่นเฉ่า 25g

ไฉหู 10g

เจอะเซี่ย 20g

เชอเฉียนเจื่อ 15g

มุทง 15g

เซิงตี้หวง 15g

ตังกุย 10g

จือจื่อ 15g

หวงฉิน 10g

กันเฉ่า 5g

ต้มน้ำดื่ม วันละ 2 ครั้ง

          ②  การรักษาระยะสุดท้าย (ระยะ 3 – 4)
๑.  บำรุงลมปราณเสริมม้าม  ยกให้สูงกระชับขึ้นไม่ให้หลุด  (ริดสีดวงทวารภายในหลุดออก)


สูตรยา :

จื่อหวงฉี 18g

กันเฉ่า9g

เหยินเซิน6g

ตังกุย 3g

จวี๋ ผี6g

เซิงหมา6g

ไฉหู 6g

เฉ่าไป่จุ 9g

๒. ละลายเลือดคั่ง ให้เลือดไหลคล้อง แก้ปวดแก้อักเสบ (ริดสีดวงทวารภายในหลุดค้าง)


สูตรยา :

เถาเหยิน 20g

ดอกคำฝอย 15g

ตังกุย 15g

เซิงตี้หวง 12g

ชวนเซือง 10g

เชอะเสา 10g

หนิวชี้ 15g

เจียเกิ่น 6g

ไฉหู 6g

จื่อเคอะ 6g

กันเฉ่า6g

ต้มน้ำดื่ม วันละ 2 ครั้ง

          B.  วิธีรักษาจากภายนอกกาย
๑.  ประเภทยาเหน็บ
มียาเหน็บละลายริดสีดวงทวารต่างๆ  คนไข้มีอาการเบาก็ใช้ยาเหน็บ 1 เม็ด  ก่อนนอนทุกคืน  ถ้ามีอาการหนักต้องใช้ เช้า – เย็น 2 ครั้ง  เหน็บเข้าทวารหนัก  มีฤทธิ์ขจัดความร้อน  แก้อักเสบ  ห้ามเลือด  แก้ปวด  สมานแผลต่างๆ
๒. วิธีล้างอบไอน้ำ  มีฤทธิ์แก้ปวด  ให้เลือดไหลคล้อง  หายบวมสมานแผล


สูตรยา :

หวงเป๋อ 10g

หู่จั้ง 20g

พู่กงอิง 20g

อู่เป้ยจื่อ 10g

ต้มน้ำแล้วล้างและอบไอน้ำด้วย

 ๓. วิธีทายา 

ใช้ครีมเจี่ยวหัว , ครีมละลายริดสีดวงทวารต่างๆ ทาที่แผล  มีฤทธิ์แก้ปวดหายบวม  สมานแผลห้ามเลือด      
(3) วิธีรักษาด้วยการผูกรัด
เป็นวิธีเก่าแก่  ใช้เส้นไหมผูกที่ใต้รากของหัวริดสีดวง หลดออก เหมาะใช้กับริดสีดวงทวารภายในและริดสีดวงทวารปนกัน
(4)  วิธีรักษาอย่างอื่นที่ใช้ความร้อน ความหนาวต่างๆ
(5)  วิธีการรักษาริดสีดวงทวาร  ตามแบบแพทย์แผนจีน
1. การสอดใส่เครื่องตรวจดูริดสีดวงทวารหนัก
2. หาตำแหน่งของริดสีดวงทวารภายใน คือ เส้นเลือดดำที่โป่งพองจะนูนและมีสีคล้ำกว่าปกติ
3. จะใช้ไฟฟ้าผ่านเครื่องควบคุมสัญญาณระดับไฟฟ้าที่ให้ระบบความร้อนอยู่ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์แผนจีน ในการรักษาครั้งหนึ่ง ไม่เกิน15นาที
4.ทุกขั้นตอนทำด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ หลังทำ ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะไม่มีอาการแทรกซ้อนและผลข้างเคียงภายหลังการรักษา

7.  การป้องกัน

(1)   การป้องกันท้องผูก  ให้ถ่ายอุจจาระคล้อง  ต้องทานเส้นใยอาหาร เช่น ข้าวกล้อง  ถั่ว  ผัก  ผลไม่  เส้นใยสามารถกระตุ้นลำไส้ให้ถ่ายเร็วขึ้น  ขับออกสารพิษกับสารก่อมะเร็ง  ต้องมีนิสัยถ่ายอุจจาระเป็นประจำเวลา   หลังตื่นนอนจากตอนเช้าดื่มน้ำ 1 แก้ว  สามารถกระตุ้นลำไส้ให้ถ่ายง่ายขึ้น  การออกกำลังกายสามารถช่วยขับถ่ายได้  เวลาถ่ายใช้ 3 – 5 นาทีก็พอ
(2)   ลำไส้อักเสบและปากทวารหนักอักเสบ  ต้องรักษาทันเวลา เช่น ท้องร่วง  โรคบิดต่างๆ
ไม่ดื่มเหล้า  ไม่ทานเผ็ด  หลังถ่ายต้องล้างก้น  ก่อนเข้านอนต้องแช่ก้นด้วย 1/5000 น้ำอุ่น ให้สะอาด
(3)  ไม่นั่ง หรือ ยืน นานเวลา  ต้องรักษาโรคหัวใจ  โรคปอด  โรคตับต่างๆ ให้ทันเวลา
(4)   ทำขมิบก้น  50ครั้ง / เที่ยว    เช้า – เย็น / วัน  ได้ผลดี
(5)    การป้องกันสำคัญกว่าการรักษา
ผู้เขียน : แพทย์จีนธงชัย ลี้นำโชค ข้อมูลเพิ่มเติ่ม
โทร:02-2946423  02-2946453   081-6279523
E-Mail: thong_2010cn@sina.com

 

สาระความรู้
การรักษาริดสีดวงทวารโดยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
การรักษาฝีคัณฑสูตรโดยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
คำจำกัดความของวิธีการบำบัด
ข้อความจากผู้ป่วย
การนวด
สังเกตผลของการรักษาอาการไหล่อักเสบเรื้อรัง(หรือไหล่ติดเรื้อรัง) 50 ราย ด้วยการฝังเข็ม,ทุยนา,ครอบแก้วประสานกับการปล่อยเลือด