ศูนย์รวมคลินิกแพทย์จีน
Clinic Center of Chinese Medical
泰國中醫師聯合治療中心

 

ข้อความจากผู้ป่วย

ผู้ป่วย : ชื่อ หลี่ xxx     เพศหญิง  อายุ 56  ปี  ประกอบอาชีพอิสระ  โสด
ผู้ป่วยเล่าว่า :   ปากเบี้ยวไปทางขวา  แขนขาไม่มีแรงสองวัน
อาการ:  เดิมป่วยด้วยโรคเบาหวาน  ระยะใกล้ๆนี้เนื่องจากมีการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงข้างบ้าน  ทำให้นอนไม่หลับต่อเนื่อง 7 วัน  สองวันก่อนพบว่า ปากเบี้ยวไปทางขวา  แขนขาด้านขวาไม่มีแรง  เดินเหินไม่สะดวก  ได้ไปตรวจแผนกฉุกเฉินที่โรงพยาบาลแผนปัจจุบัน  วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานร่วมกับเส้นเลือดสมองตีบ
 การตรวจ : ผู้ป่วยร่างกายถ้วมสมบูรณ์   แขนขาฝั่งขวาขยับเคลื่อนไหวไม่สะดวก  ปากเบี้ยวไปทางด้านขวา  ลิ้นแดง  ฝ้าบางเหลืองเขรอะ  มีจ้ำเลือด  ชีพจรเนิบลื่น แต่ชีพจรตับ ตึง
วินิจฉัย : อาการเซียวเข่อร่วมด้วยจ้งเฟิง   วินิจฉัยว่า “อัมพฤกษ์”
การรักษา : ใช้ตำรับยา เถาหงซื่ออู้ทาง   เจิงเย่ทาง  เอ้อเฉินทาง ผสมกันและเพิ่มลดตามอาการ
ตัวยามี   เซิงตี้  15 กรัม   หยวนเซิน 12  กรัม  ซาเซิน 15  กรัม  ม่ายตง  15  กรัม เจ๋อเป่ย 9 กรัม   หนิวชี 10 กรัม   ตี้หลง 12  กรัม   หงฮวา 9  กรัม  เถาเหยิน 9 กรัม   ตานผี 12 กรัม     ป๋ายเสา 12 กรัม   เฉินผี 12  กรัม  ป้านเซี่ย 9  กรัม  ฝูหลิง 15  กรัม   เจียงฉาน 15  กรัม   หวยซาน  9  กรัม   ซีหยางเซิน 5  กรัม      โกวเถิง 15  กรัม   หวางฉี  12  กรัม       กานฉ่าว 9  กรัม
ผู้ป่วยป่วยด้วยอาการเซียวเข่อขณะเดียวกันก็มีเสมหะคั่งค้าง เป็นเหตุให้เกิด”จ้งเฟิง(อัมพฤกษ์)   ในขณะที่สลายเสมหะขจัดอาการเกร็ง  เพื่อไม่ให้กระทบถึงสารยิน จึงเพิ่มยา “เจิงเย่ทาง” เพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นแต่ก็สามารถสลายเสมหะได้    ตำรับยานี้ ใช้  เจียงฉาน สลายเสมหะขจัดอาการคั่ง เป็นตัวยาหลัก (จวิน)    ซีหยางเซิน   ซาเซิน  หยวนเซิน   ม่ายตง  เสริมบำรุงยิน สร้างสารน้ำขณะเดียวกันก็สลายเสมหะร้อน    หวายซาน  ฝูหลิง  เฉินผี   ป้านเซี่ย  เจ๋อเป้ย  ปรับสมดุลการทำงานของม้าม  ขจัดความชื้นเพื่อกำจัดแหล่งสร้างเสมหะ  ล้วนเป็นตัวยาเสริม (เฉิน) หวางฉี  โกวเถิง  สมานพลังชี่ลดความดัน เป็นตัวยาช่วย (จั่ว)     เถาเหยิน  หงฮวา  ตานผี  เซิงตี้   ตี้หลง   ป๋ายเสา  ทำให้เลือดเย็น   สลายอาการคั่ง   เสริมบำรุงยิน เป็นตัวยาช่วย (จั่ว)     หนิวชี สลายอาการคั่ง  นำยาลงส่วนล่างของร่างกายเป็นตัวยานำพา(สิ่อ)     กานเฉ่า เป็นยาประสานกลมกลืนตัวยาทั้งหมด เป็นตัวยานำพา(สิ่อ)    
โดยแพทย์จีน  อู๋  ปิ่ง กวาง   29  ตุลาคม 2553
ผู้เขียน : แพทย์จีน  อู๋  ปิ่ง กวาง ข้อมูลเพิ่มเติ่ม
สิริกรคลินิกการแพทย์แผนไทย

880/1 ซ.วิสุทธินิเวศน์ แยก 2 ถ.ประชาอุทิศ 5 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
FAX.02-2776838 มือถือ: 089-8115342

 

สาระความรู้
การรักษาริดสีดวงทวารโดยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
การรักษาฝีคัณฑสูตรโดยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
คำจำกัดความของวิธีการบำบัด
ข้อความจากผู้ป่วย
การนวด
สังเกตผลของการรักษาอาการไหล่อักเสบเรื้อรัง(หรือไหล่ติดเรื้อรัง) 50 ราย ด้วยการฝังเข็ม,ทุยนา,ครอบแก้วประสานกับการปล่อยเลือด